ภัยแล้ง
1. โดยธรรมชาติ
1.1 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
1.4 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
2. โดยการกระทำของมนุษย์
2.1 การทำลายชั้นโอโซน
2.2 ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
2.3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
2.4 การตัดไม้ทำลายป่า
ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
ฝนแล้ง คือ ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภคบริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
ฝนทิ้งช่วงคืออะไร
หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน 15 วัน จะเกิดในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้าง
ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่
1.ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ
สาเหตุทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง(ขาดแคลนน้ำ)
อาจสรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้งได้ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม โดยในฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ตกน้อย ทิ้งช่วง ไม่กระจายสม่ำเสมอ ทำให้มีน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำน้อย น้ำและความชื้นในดินมีน้อย ในฤดูแล้งอากาศที่ร้อนจัดทำให้การสูญเสียน้ำจากการระเหยมีมาก ทำให้น้ำในแหล่งน้ำลดปริมาณลงจนถึงเหือดแห้งไป
2. ความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพและการใช้ทรัพยากรจึงมีมาก ความต้องการน้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ จึงมีมากตามไปด้วย ในขณะที่แหล่งเก็บกักน้ำมีจำกัดไม่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กัน
3. แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้น มีน้อยไม่เพียงพอต่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจเกิดจาก ข้อจำกัดของภูมิประเทศที่ไม่มีลำน้ำธรรมชาติ หรือไม่เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งน้ำ หรือแหล่งน้ำได้รับการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กเกินไป ใช้ประโยชน์ได้ไม่เพียงพอ
4. แหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นเสื่อมสภาพ ตื้นเขิน ชำรุด ทำให้มีประสิทธิภาพต่ำ เก็บกักน้ำไว้ได้น้อยจนถึงไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้
การรองน้ำฝนจากหลังคาบ้านเพื่อเก็บเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภคไม่สามารถทำได้ เพราะแร่ใยหินที่ใช้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเป็นสารก่อมะเร็ง อีกทั้งในเขตเมืองก็จะมีฝุ่นควันจากเครื่องยนต์รถมาก
5. การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ทำให้ไม่มีต้นไม้ที่ทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝนลงสู่ใต้ผิวดิน อุ้มน้ำเอาไว้ และยึดดินให้มีความมั่นคง ก็จะขาดแคลนน้ำที่จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ลำธารและลำน้ำในช่วงฤดูแล้ง
6 .คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น น้ำเค็ม น้ำขุ่น เป็นสนิม สกปรก หรือเน่าเสีย
7. การขาดจิตสำนึกในการใช้น้ำและการอนุรักษ์น้ำ เช่นใช้น้ำไม่ประหยัด ใช้น้ำอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ที่พบบ่อย ๆ คือ การลงจับปลาในแหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่น หรือถ้าหากระบายน้ำออกเพื่อจับปลา ก็จะไม่มีน้ำเหลืออยู่อีกต่อไป
8. การวางผังเมืองไม่เหมาะสม โดยแบ่งแยกพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมไม่เหมาะสมสอดคล้องกับแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ขาดการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมไว้ล่วงหน้า
9. การบริหารจัดการน้ำ ถ้าเกิดความผิดพลาดในการพร่องน้ำระบายน้ำ ทำให้มีน้ำเหลือเก็บกักไว้น้อย
10. การพัฒนาแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสม โดยในระยะเวลาช่วงต้นๆ ของการพัฒนาแหล่งน้ำ อาจเน้นเรื่องการเร่งรัดการพัฒนามากเกินไป โดยต้องการสร้างจำนวนที่มาก ใช้งบประมาณน้อยๆ เสร็จเร็วๆ เป็นการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้มีแหล่งน้ำจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เช่น ขนาดเล็กเกินไปเก็บกักน้ำได้น้อย บางแห่งอยู่ไกลจากแหล่งชุมชนเกินไป
นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบจากการพัฒนาแหล่งน้ำคือ การก่อสร้างฝายแล้วไม่สร้างประตูระบายทรายไว้ด้วย ทำให้มีตะกอนตกจมด้านหน้าฝายมาก อีกทั้งทำให้ไม่สามารถระบายน้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง ลงไปช่วยพื้นที่ตอนล่างที่อยู่ไกลออกไปที่มีฝายปิดกั้นลำน้ำอยู่เป็นระยะๆได้ เพราะจะต้องระบายน้ำลงไปในปริมาณมาก เพื่อให้ล้นข้ามสันฝายที่มีระดับสูงออกไป เกิดการสูญเสียจากการระเหยรั่วซึม และการไหลบ่าแตกทุ่งออกไปปริมาณสูง ซึ่งหากมีประตูระบายทรายก็จะระบายน้ำลงไปช่วยเหลือปริมาณน้อยๆ ไม่ต้องให้มีน้ำเต็มลำน้ำเพราะเปิดประตูระบายทรายได้
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง
การป้องกันและแก้ไขมีหลายแนวทาง ได้แก่
1. จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อ
รวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง การกักเก็บน้ำไว้ใช้ส่วน
ตัวควรจัดหาโอ่งน้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนการวางแผนเก็บกัก
น้ำสำหรับส่วนรวม ควรจัดสร้างอ่างเก็บน้ำหรือสระน้ำขนาดใหญ่ เพื่อ เก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียง
พอสำหรับการใช้ของชุมชน
2. การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลมาใช้นอกจากเพื่อบริโภคอุปโภคแล้ว ยังใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย
3. การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่าน
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล
เป็นต้น
การป้องกันและแก้ไขมีหลายแนวทาง ได้แก่
1. จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อ
รวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง การกักเก็บน้ำไว้ใช้ส่วน
ตัวควรจัดหาโอ่งน้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนการวางแผนเก็บกัก
น้ำสำหรับส่วนรวม ควรจัดสร้างอ่างเก็บน้ำหรือสระน้ำขนาดใหญ่ เพื่อ เก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียง
พอสำหรับการใช้ของชุมชน
2. การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลมาใช้นอกจากเพื่อบริโภคอุปโภคแล้ว ยังใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย
3. การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่าน
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล
เป็นต้น
4. การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศ
แห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็มจะต้อง
ลงทุนสูงกว่าการทำน้ำจืดให้บริสุทธิ์ถึง 4 เท่า แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพียงบรรเทาความเดือดร้อนในการ
ขาดแคลนน้ำในบริเวณนั้น และมีแนวโน้มว่าต้องใช้น้ำเค็มเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำจืดเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำจืด
5. การทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนและพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูก
แห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็มจะต้อง
ลงทุนสูงกว่าการทำน้ำจืดให้บริสุทธิ์ถึง 4 เท่า แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพียงบรรเทาความเดือดร้อนในการ
ขาดแคลนน้ำในบริเวณนั้น และมีแนวโน้มว่าต้องใช้น้ำเค็มเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำจืดเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำจืด
5. การทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนและพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูก
ปัญหาอุทกภัยและการป้องกันแก้ไข
เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลายไปมากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ
กล่าวคือ ฝนตกหนัก ผืนดินขาดต้นไม้ ซึ่งช่วยในการซับน้ำและชะลอความเร็วในการไหลของน้ำ
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรืออุทกภัยซึ่งสร้างความเสียหายต่าง ๆ ทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน ที่เห็นได้
ชัดเจน เช่น
1) พืชผลที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหายอย่างรวดเร็วเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ที่ใหญ่หลวงประการหนึ่ง
2) สิ่งก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน และถนนหนทางถูกทำลาย
3) ประชาชนและสัตว์เลี้ยงบาดเจ็บ ล้มตาย หรือพิการ
4) เกิดโรคระบาดขึ้นทั้งคนและสัตว์เลี้ยงหลังจากภาวะน้ำท่วม
อ้างอิง
:http://elibrary.eduzones.com/index.php?title=%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87
สืบค้นวันที่ 14 /06/2556
จัดทำโดย
นางสาว ลลิตา อนันทกาล
ม.6/6 เลขที่ 1